บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 17

รูปภาพ
เจอร์มิเนท สารสะกัดชีวภาพ 100% คือ กรดอะมิโน 19 ชนิด   ในรูปของกรดอะมิโนอิสระ (L- Amino acid) ที่พืชสามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์พืชอย่างรวดเร็วและจำนวนมาก พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องย่อยสลายอีก วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช กระตุ้นให้เกิดการแตกยอดใหม่ หรือช่วยการแตกดอกและการติดผล เพื่อช่วยในการงอกของเมล็ด อัตราการงอก 100% ต้นกล้าแข็งแรง และยังใช้ฉีดพ่นให้กับพืชในสภาวะเครียดได้อีก เช่น กระทบหนาวจัด แล้งจัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 16

รูปภาพ
ลิควิด-ไอออน (Fe-EDDHA) คือ ธาตุเหล็ก ที่อยู่ในรูปของ คีเลท EDDHA ซึ่งเป็นรูปคีเลท ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคีเลทที่อยู่ในรูปของ EDTA ใช้ได้ทั้งการฉีดพ่นทางใบ หรือระบบน้ำ และการปลูกพืชในสารละลาย (Hydroponic) ลิควิด-ไอออน จะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กของพืช (พืชจะแสดงอาการใบเหลือง) สามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด เพื่อรักษาอาการขาดธาตุเหล็ก (ฉีดทุกระยะการเจริญเติบโต) หรือเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบ (ฉีดพ่นช่วงระยะแตกใบอ่อน) ไม่แนะนำให้ฉีดผลไม้ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว เพราะอาจทำให้ผลแตก จากการได้รับสารอาหารจากใบและน้ำจากรากมากเกินไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 15

รูปภาพ
โมเด็ม คือธาตุอาหารพืช โมลิดินั่ม พืชจะนำไปใช้ในขบวนการทางเคมีเกี่ยวกับการเปลี่ยนและใช้ธาตุไนโตรเจนในพืช โมเด็ม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเมื่อต้องการให้พืชเจริญเติบโตช่วงสร้างยอดและใบ ดังนั้นการใช้โมเด็มต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยโกรแม็กซ์ สูตร 30-10-10 สูตร 20-20-20 และสูตร 15-15-15 เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 14

รูปภาพ
ไบร์ท-กรีน ใช้ไบร์ท-กรีน ลดภาระและเพิ่มพลังให้แก่พืช ปุ๋ยแมงกานีสคีเลท เป็นธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการใช้เพื่อคงสภาพของคลอโรฟิลล์และเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของคลอโรฟิลล์ แนะนำให้ใช้ช่วงที่พืชกำลังสร้างผลผลิต เช่น ไม้ผล ใช้ในระยะติดผลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ไม้ดอกฉีดในระยะที่พืชเริ่มออกดอก หรือ พืชผักกินใบฉีดก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มความนวลและความสดใสของสีเขียว ถ้าพืชขาดไบร์ท- กรีน ในช่วงดังกล่าวใบจะเหลืองและโทรมเร็วถ้าติดผลมากๆ จะทำให้ผลผลิตต่ำไม่มีคุณภาพน้ำหนักน้อยลง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 13

รูปภาพ
ท็อป-เค ( 0-0-25+15S ) เป็นเทคโนโลยีใหม่ของปุ๋ยโปแตสเซี่ยมน้ำ โดยประกอบไปด้วยธาตุโปแตสเซี่ยม และ กำมะถัน มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ยับยั้งการแตกใบอ่อน เพื่อการสะสมอาหารในการออกดอก เพื่อเร่งให้ผลไม้สุกเร็ว เพิ่มความหวาน การใช้ต้องใช้ตามคำแนะนำและอัตราการใช้ที่กำหนด อย่างเคร่งครัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 12

รูปภาพ
ท็อป-เอ็น (30-0-0) ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ธาตุไนโตรเจนกับพืช เทคโนโลยีล่าสุด ลิขสิทธิ์ผลิตเฉพาะของบริษัท เทสเซนเดอร์โล สหรัฐอเมริกา ผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวโดย บริษัทกิฟฟารีนสกายไลน์ยูนิตี้จำกัด แนะนำให้ใช้ในช่วงที่พืชกำลังออกดอก (ดอกตูม) และหลังจากดอกโรยแล้ว (กรณีไม้ผล) ดอกและผลพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ดอกโตมีเปอร์เซ็นต์การติดผลสูง ผลจะโตสม่ำเสมอกัน มีขนาดไล่เลียกัน และยังช่วยให้พืชทนแล้ง โดยการฉีดร่วมกับ เจอร์มิเนท + โบโรแคล ในช่วงที่แล้งมากๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 11

รูปภาพ
เม็กก้า - ซิงค์ คือธาตุสังกะสี ในรูปของคีเลต พืชดูดนำไปใช้ได้แน่นอนทั้งทางราก และทางใบ ไม่ตกตะกอนกับปุ๋ยฟอสเฟต เป็นการเพิ่มธาตุสังกะสีให้กับพืชในช่วงที่พืชต้องการ เช่น ช่วงแรกของการยืดต้น ช่วงลงหัวขยายหัว ช่วงสร้างใบฟื้นต้น ยืดช่อดอกในช่วงออกดอก และแก้ปัญหาโรคขาดธาตุอาหาร (โรคใบแก้ว) ในพืชตระกูลส้ม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 10

รูปภาพ
เทอร์โบแม็ก / ควิกแม็ก 0-0-15+13 MgO ใช้ควบคู่กับปุ๋ยเม็ดสูตรต่างๆ (ให้ทางดิน) เพื่อเพิ่มธาตุแม็กนีเซี่ยม จะให้ธาตุอาหาร โปแตสเซี่ยม แม็กนีเซี่ยม และคลอไรด์ โดยช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช (น้ำหนัก และความหวาน) ควบคุมการเปิด ปิด ของปากใบ สำหรับแม็กนีเซี่ยม จะเป็นส่วนประกอบของสีเขียว หรือคลอโรฟิลล์ เพิ่มความเขียว ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 9

รูปภาพ
เทอร์โบไทโอแม็ก แม็กนีเซี่ยม 4 % + กำมะถัน 10 % ฉีดพ่นเพื่อเพิ่มความเขียวหรือคลอโรฟิลล์  สามารถใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบหรือผสมกับปุ๋ยเม็ดใส่ทางดินได้ ใส่ทางดินโดยตรง หรือให้ทางระบบน้ำ ก็ได้ผลดีเช่นกัน มีคุณสมบัติยับยั้งธาตุไนโตรเจน จึงเป็นปุ๋ยที่เหมาะกับพืชหัวช่วงลงหัว หรือเก็บสะสมอาหารเพื่อการออกดอก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 8

รูปภาพ
แม็กนีเซีย เพิ่มขนาด และสีเขียว สำหรับใบอ่อนและผลอ่อน เพิ่มสัเขียวของผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ให้เป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยให้พืชดูดฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชน้ำมัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 7

รูปภาพ
โบโร-แคล แคลเซี่ยม - โบรอน  / 9:2 กระตุ้นการแตกราก ทำให้รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้มากขึ้น ทำให้พืชทนแล้ง ผนังเซลล์พืชแข็งแรง ป้องกันอันตรายจากการทำลายของเชื้อโรค (โดยเฉพาะเชื้อรา) ได้ดี เสริมสร้างความแข็งแรงของเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย และรังไข่ ป้องกันดอกหลุดร่วง และปัญหาไส้กลวง ในหัวไชเท้า และกะกล่ำปลี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 6

รูปภาพ
ปุ๋ยโกรแม็กซ์ สูตร 20-20-20 (พัฒนาช่อดอก และพัฒนาต้น) ฉีดกล้วยไม้หน้าฝน ขยายขนาดช่อดอก เร่งต้น ใบ พืชทุกชนิดในหน้าฝน พัฒนารากพืชหัว มีวิตามีนบี 1 ช่วยพัฒนาราก เหมาะใช้ในระยะขยายลูก สร้างเนื้อ จะทำให้ผลโตเร็วมาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน 5

รูปภาพ
ปุ๋ยโกรแม็กซ์ สูตร 6-20-30   (พัฒนาคุณภาพ ดอก ผล หัว) เพิ่มน้ำหนัก ผล หัว พัฒนาสีดอก เมล็ด ลดความชื้นของเมล็ด หัว เหมาะในช่วงระยะพัฒนาผลผลิต ช่วงลงหัว ช่วงติดผล ช่วงติดเมล็ด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตร กิฟฟารีน 4

รูปภาพ
ปุ๋ยโกรแม็กซ์ สูตร 10-52-17                       สูตร  3-53-17 (สูตรฟอสฟอรัสสูง หยุดต้น สร้างดอก พัฒนาราก) เหมาะสำหรับพืชในระยะต้องการผลผลิต ออกดอก รวง รากและลงหัว การติดผล ป้องกันดอก ผลร่วง สูตร 3-53-17 เหมาะในสภาพน้ำที่เป็นกลางหรือด่าง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตร กิฟฟารีน 3

รูปภาพ
ปุ๋ยโกรแม็กซ์ สูตร 15-15-15 (สูตรเสมอพัฒนาทุกส่วนของลำต้น) ฉีดพ่นผักกินใบในฤดูฝน ข้าวช่วงแต่งตัว ขยายขนาดผล หลังติดผลจนถึงระยะเข้าสี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตร กิฟฟารีน 2

รูปภาพ
ปุ๋ยโกรแม็กซ์  30-10-10 สูตร 30-10-10 (สูตรไนโตรเจนสูง เร่งต้น ใบ เถา แตกยอด) ดึงยอด แตกกอ สร้างใบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

แนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตร กิฟฟารีน 1

รูปภาพ
สารเสริมประสิทธิภาพ การฉีดยาปุ๋ยให้ทางใบพืช หรือยาปราบศัตรูพืช หรือยาป้องกำจัดโรคพืช (อาจรวมยากำจัดวัชชพืช) เกษตรกรส่วนมากมักจะผสมสารที่ทำให้ตัวปุ๋ยหรือยานั้นจับกับใบพืชให้ได้มากๆ ซึ่งสารดังกล่าวนั้นที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. สารเปียกใบ หรือ ยาเปียกใบ เป็นสารที่ลดแรงตึงผิวของสารละลาย(ปุ๋ย ยา)ทำให้แผ่กระจายไปกับผิวใบมีมากขึ้น 2. สารจับใบ หรือ ยาจับใบ เมื่อผสมลงไปในสารละลาย(ปุ๋ย ยา)พ่นให้พืช จะทำให้สารละลายเกาะติดแน่นอยู่บนพืช ป้องกันการชะล้างของน้ำฝน พืชดูดสารละลายได้ดีขึ้น ขอแนะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรกิฟฟารีน เกรทกรีน และเกรทกรีนพลัส ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารจับใบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าติดต่อ 09-2533-2564 Line ID : banusuwan

ปู๋ยที่ให้ธาตุสังกะสี

https://plus.google.com/102750254415483183340/posts/ZvayPuTYp5X?_utm_source=1-2-4

ปัจจัยในการให้ปุ๋ยพืช

รูปภาพ
ข้อพิจารณาในการตัดสินใจให้ปุ๋ยกับพืช ในการปลูกพืชแต่ละครั้งนั้น เรามีเป้าหมายในการให้ปุ๋ยพืชเพื่อ - เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกพืชให้มีธาตุอาหารแก่พืชอย่างเพียงพอในการปลูกพืชตลอดอายุเก็บเกี่ยว เช่น ดินที่จะปลูกพืชมีความสมบูรณ์ต่ำหรือปานกลาง เราก็จะใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน - รักษาระดับความอุดมของดินที่ปลูกพืชเอาไว้ให้คงอยู่ซึ่งจะเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่พืช และเป็นชดเชยธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปจากกระบวนการธรรมชาติหรือที่เกิดจากการเก็บเกี่ยว ในภาคปฏิบัติการ ในการให้ปุ๋ยแก่พืชนั้นเรามักจะให้ปุ๋ยแก่พืชในลักษณะผสมผสานกัน - ปุ๋ยอินทรีย์ ( ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ) ควบคู่กับ ปุ๋ยชีวภาพ - ปุ๋ยอินทรีย์ ( ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด )และปุ๋ยชีวภาพ ควบคู่กับ ปุ๋ยอนินทรีย์ (เคมี) (บางตำราจะแยกปุ๋ยชีวภาพออกมาจาก ปุ๋ยอินทรีย์) โดยการใช้ปุ๋ยแต่ละอย่างนั้น จะใช้ในช่วงเวลาและวิธีการให้ที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด ปัจจัยสำคัญในการให้ปุ๋ยกับพืช 1.ปัจจัยที่เกี่ยวกัยปุ๋ย     - ประเภทของปุ๋ย (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพ)     - ชนิดของธาต...

คนเล่นปุ๋ย (แนวคิดการให้ปุ๋ยอนินทรีย์กับพืช)

รูปภาพ
แนวคิดการใช้ปุ๋ยอนินทรีย์กับพืช ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่มีราคาแพง และมีปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชสูง ก่อนใช้ต้องศึกษาถึงรายละเอียดของปุ๋ยแต่ละชนิด แต่ละสูตรให้รอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์และผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน และไม่ให่เกิดผลเสียต่อพืชที่เราปลูกได้ โดยคำนึงถึงปัจจัยดังนี้ 1. เลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก เช่น พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่ นา และศึกษาอัตราส่วนของปุ๋ย (สูตรปุ๋ย และ อัตราการใช้) ที่ใช้สำหรับพืชแต่ละชนิด (โดยดูจากคำแนะนำ ปริมาณอัตราที่ใช้ วิธีการใช้ของพืชแต่ละชนิด ที่ข้างกระสอบหรือถุงปุ๋ย) 2. ปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน พื้นที่ที่จะปลูกพืช (ดินบริเวณที่จะทำการเพาะปลูกนั่นเป็นดินชนิดใด ดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว มีค่า pH อย่างไร มีธาตุอาหารพืชใดมาก ดูรายละเอียดจากโพสต์เก่าๆ ได้ครับ มีลงรายละเอียดไว้) (หากไม่สามารถพิจารณาเองได้ให้ส่งตัวอย่างดินไปตรวจสอบที่กรมพัฒนาที่ดิน หรือติดเจ้าที่เกษตรประจำตำบล/อำเภอ ก็ได้) 3. พิจารณาชนิดของปุ๋ยและลักษณะการใช้ปุ๋ยกับพืช     - ปุ๋ยชนิดอัดเม็ด นิยมให้กับพืชทางราก โดยใช้หว่าน โรย ลงดินรอบๆโ...

คนเล่นปุ๋ย (แนวคิดการให้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืช)

รูปภาพ
แนวคิดการให้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืช ปุ๋ยอินทรีย์เป๋ยที่มีความสำคัญอย่างมากในการปรับปรุงโครงสร้างของดิน ซึ่งจะทำให้ดินมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี และดูดซึมน้ำเอาไว้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืช แม้ว่าปุ๋ยอินทรีย์จะมีปริมาณธาตุอาหารพืชอยู่น้อย (เกือบครบทุกธาตุ) การปลูกพืชในดินจึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในขั้นตอนการเตรียมดินปลูก โดยยึดหลักการดังนี้ 1. ปุ๋ยคอก ควรเลือกปุ๋ยคอกที่มีคุณภาพดี     - ปุ๋ยคอกเก่า ตากแดดให้แห้งสนิท ก่อนนำไปใช้     - คุณภาพปุ๋ยคอกขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของสัตว์ (ให้ธาตุอาหารพืชในปริมาณที่ต่างกัน) 2. ปุ๋ยหมัก     - หากทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง ต้องเป็นปุ๋ยหมักที่สลายตัวสมบูรณ์แล้ว     - หากซื้อใช้ต้องเลือกแหล่งผลิตของปุ๋ยหมักที่น่าเชื่อถือ (ปุ๋ยหมักชนิดผง ปุ๋ยหมักชนิดอัดเม็ด ปุ๋ยหมักน้ำ) 3.  ระยะเวลาในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ในขั้นตอนเตรียมดินปลูก หรือผสมกับดินปลูกพืช หากจะใช้ปุ๋ยหมักอัดเม็ด หรือปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะนำไปใช้ได้ดีในระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโต ฯลฯ 4. คำนึงถึงต้นทุนในการใช้ (ค...

คนเล่นปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปะทะ ปุ๋ยอนินทรีย์

รูปภาพ
ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยทั้ง 2 ประเภท มีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันไป ซึ่งวิธีการใส่ปุ๋ยทั้ง 2 ประเภท ต้องคำนึงถึงปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช และพันธุ์พืชด้วยเช่นกัน ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อดี 1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดี ดินร่วยซุย อุ้มน้ำ และธาตุอาหารได้ดี 2. สามารถอยู่ในดินได้นาน ปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชอย่างช้าๆ 3. ทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณสมบัติของดินทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยอนินทรีย์จะทำให้ปุ๋ยอนินทรีย์มีประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น ข้อเสีย 1. ปริมาณธาตุอาหารต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ทำให้ใช้ในปริมาณที่มากๆ 2. ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ไม่ครบถ้วนหรือมีปริมาณน้อย (ธาตุอาหารบางอย่างพืชจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทันที) 3. ใช้เวลานาน ในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช 4. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง 5. หาซื้อได้ยาก เมื่อต้องการใช้ในปริมาณมากๆ ปุ๋ยอนินทรีย์ ข้อดี 1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ทำให้ใช้ในปริมาณที่เล็กน้อย 2. มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ครบถ้วน ตามชน...

คนเล่นปุ๋ย (ปุ๋ยอนินทรีย์)

รูปภาพ
ปุ๋ยอนินทรีย์ (Inorganic fertilizers) หรือที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า "ปุ๋ยเคมี" ซึ่งปุ๋ยอนินทรีย์จะได้จากการสังเคราะห์สารอนินทรีย์พวก หิน และแร่ธาตุ เราแบ่งปุ๋ยอนินทรีย์ได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปุ๋ยเดี่ยว คือปุ๋ยอนินทรีย์ที่มีธาตุอาหารหลักเพียงธาตุเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า "แม่ปุ๋ย" เช่น ปุ๋ยไนโตรเจน N (46-0-0) ปุ๋ยฟอสเฟต  P (0-20-0) และปุ๋ยโปแตสเซี่ยม K (0-0-60) ตัวอย่างปุ๋ยให้ทางใบแบรนด์กิฟฟารีน 2. ปุ๋ยผสม คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักมากกว่า 1 ธาตุ ปุ๋ยผสมจะมาจากการผลิตจากโรงงานนำปุ๋ยธาตุเดียวมาผสมกันเป็นสูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ ซึ่งจะมี 2 ชนิด คือ ก. ปุ๋ยผสมสูตรสมบูรณ์ คือปุ๋ยผสมที่มีธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ธาตุ ( N,P,K ) เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือ ปุ๋ยสูตร 10-52-17 ฯลฯ ตัวอย่างปุ๋ยให้ทางใบ แบรนด์กิฟฟารีน ข. ปุ๋ยผสมสูตรไม่สมบูรณ์ คือปุ๋ยผสมที่มีธาตุอาหารหลักไม่ครบทั้ง 3 ธาตุ ( N,P,K )เช่น ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ ปุ๋ยสูตร 20-20-0 ฯลฯ การผสมปุ๋ยนอกจากจะใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักมาผสมแล้ว ยังใช้วัสดุอื่นผสมลงไปด้วยเพื่อให้ได้ครบ...

คนเล่นปุ๋ย (ปุ๋ยอินทรีย์)

รูปภาพ
ปลูกพืชปลูกต้นไม้ต่างๆ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าจะให้อาหารอะไรแก่พืชหรือต้นไม้ ได้แต่รดน้ำ พรวนดิน เอาเศษหญ้า มูลสัตว์มาใส่บ้าง ใส่ปุ๋ยเคมี บ้าง ทำแบบนึกอะไรได้ก็ทำอย่างนั้น หรือได้ยินเขาเล่าว่ามาก็เอาแบบอย่างมาทำกับไร่สวนของตนเองบ้าง บทความเก่า เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ลองเข้าไปศึกษาดูก่อนอีกครั้ง รวมทั้ง ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่พืชต้องการในการเจริญเติบโตด้วยนครับ http://giffideabanjerd.blogspot.com/2017/03/1.html แล้วท่านจะพบว่า พืช/ต้นไม้ ที่จะเจริญเติบโตได้นั้นความต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโต และธาตุอาหาร ของพืชแต่ละชนิด แต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต นั้นจะแตกต่างกันไป ชนิดปริมาณ มากน้อยไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเราปลูกต้นไม้ สัก 1 ต้น การให้ธาตุอาหารแก่ต้นไม้ที่เราปลูกนั้นก็เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง และการให้อาหารพืชนั้นเพียงแค่ธาตุใดธาตุหนึ่งนั้นย่อมทำไม่ได้ หรือการที่เราจะใส่ปุ๋ยเพียงแค่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวนั้นผลิตผลย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการก็เป็นไปได้ ลองมาศึกษาเรื่องของธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยกัน ประเภทของปุ๋ย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ปุ๋ยอินทรีย์ 2.ปุ๋ยอนินทรีย์...

คำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องของปุ๋ย

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับ "ปุ๋ย" ที่ท่านต้องทราบก่อนที่จะเริ่มขยายงานการเกษตร และจำไว้ให้ขึ้นใจ ก่อนที่จะศึกษากันต่อ...ครับ " ปุ๋ย " คือวัตถุใดก็ตามที่นำมาใช้ในการเพาะปลูกแล้วทำให้พืชเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ไม่เป็นพิษต่อพืชหรือเกิดผลเสียต่อดิน ซึ่งส่วนใหญ่หลักสำคัญของปุ๋ยก็คือ ธาตุอาหารพืช " ปุ๋ยเคมี " คือ ปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ต่างๆ ซึ่งมีทั้งปุ๋ยเดี่ยว และปุ๋ยผสม " ปุ๋ยอินทรีย์ " คือ ปุ๋ยที่ได้จากสารอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด " ปุ๋ยพืชสด " คือ ปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบพืชตระกูลถั่วในช่วงที่ออกดอก หรือการนำแหนแดงมาหว่านในพื้นที่แล้วไถกลบให้เน่าเปื่อยย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ " ปุ๋ยเดี่ยว " คือ ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารหลักเพียงธาตุเดียว " ปุ๋ยผสม " คือ ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารหลักมากกว่า 1 ธาตุ " สูตรปุ๋ย หรือ เกรดปุ๋ย " คือ เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของปริมาณธาตุอาหารหลักทั้งหมดที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (เช่น ปุ๋ยสูตร...

ธาตุโบรอน B (ตอนที่ 2 )

ธาตุโบรอน B (ตอนที่ 2) ***** ต่อจากตอนที่ 1 ***** ปกติดินที่ขาดธาตุโบรอน จะเป็นดินทรายตามชายฝั่งทะเลซึ่งมีธาตุโบรอนน้อยที่สุด แต่การขาดธาตุโบรอนนั้น (จนเป็นอันตรายต่อพืช) จะพบในดินเกือบทุกชนิด การขาดธาตุโบรอนนี้จะเกิดขึ้นรุนแรงและเห็นได้เด่นชัดในช่วงที่พืชกระทบอากาศแห้งแล้ง หรือพืชขาดน้ำมากๆ ในดินที่มีฤทธิ์เป็นด่าง และพบว่าพืชที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (เร็วเกินไป) จากการที่เราเร่งปุ๋ยไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยม จะแสดงอาการขาดธาตุโบรอนรุนแรงกว่า พืชที่เจริญเติบโตเป็นปกติหรือโตช้า อาการทั่วไปของพืชที่ขาดธาตุโบรอน 1.ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโต 2.ส่วนปลายหรือขอบใบ(โดยเฉพาะยอด/ใบอ่อน)จะไหม้แห้ง (ใบอ่อนบางโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนาและกร้าน) 3.ใบแก่จะบิดเบี้ยวผิดรูป 4.ที่ขอบหรือส่วนล่างของผิวใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดง 5.ลำต้นส่วนที่เป็นไส้กลาง หรือส่วนของเนื้อเยื่อที่อวบอ่อน จะช้ำหรือเป็นแผลแตกแยกออก (อาจมีอาการตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น) กิ่วก้านจะดูเหี่ยวๆ 6.พืชหัว เช่นแครอท มันฝรั่ง หรือ พืชเป็นผล เช่นแตง สีเนื้อภายในจะซีดจางหรือหายไป เนื้อหยาบแข็ง ผลเล็กแข็งผิดปกติ เปลือกห...

ธาตุโบรอน B (ตอนที่ 1)

ธาตุโบรอน B (ตอนที่1) ธาตุโบรอน เป็นธาตุอาหารพืชที่พืชต้องการน้อยมาก แต่ก็จำเป็นในพืชผักทุกชนิด ในการเจริญเติบโต พืชแต่ละชนิด ต้องการธาตุโบรอนในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แร่ที่มีธาตุโบรอนเป็นองค์ประกอบได้แก่ บอแรกซ์ ทัวร์มาลีน ซึงพบว่ามีธาตุโบรอนอยู่มาก และเป็นสารที่ละลายน้ำได้ยาก และทนต่อการกัดกร่อน จึงทำให้การปลดปล่อยธาตุโบรอนจากต้นกำเนิด ค่อนข้างยากและช้า ทำให้ดินขาดธาตุโบรอนมากขึ้น เมื่อมีการปลูกพืชอย่างต่อเนื่องโดยไม่ปล่อยให้ดินพักตัว หน้าที่ความสำคัญของธาตุโบรอนในพืช ธาตุโบรอนแม้ว่าพืชต้องการน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ธาตุอาหารหลักของพืช เนื่องจากโบรอน ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนและลิกนิน ควบคุมการสร้างการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรท และการแบ่งเซลล์ และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญในพืช  การยึดตัวของรากพืชบางชนิดและมีความสำคัญในการสร้างปมรากพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ธาตุโบรอนยังมีความเกี่ยวพันกับธาตุอาหารอย่างอื่นด้วย เช่น - เมื่อขาดธาตุโบรอน จะทำให้พืชดูดซึมธาตุ โปแตสเซี่ยม ขึ้นมาจากดินมากเกิความต้องการของพืช จนอาจเกิดอันตรายหรือเป็นพิษต่อพืชได้ - เป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยา...

ธาตุคลอรีน Cl

ธาตุคลอรีน Cl ธาตุคลอรีน จะมีทั่วๆไปในดิน เกลือ และในอากาศ ซึ่งจะละลานน้ำได้ดี พอๆ กับเกลือไนเตรต คลอรีนในอากาศจะอยู่ในรูปของก๊าซ เช่นเดียวกับ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน หน้าที่ความสำคัญของธาตุคลอรีน หน้าที่ที่แท้จริงของธาตุคลอรีนในพืชนั้น ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ลงความเห็นว่า ธาตุคลอรีนมีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น (มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช) อาการของพืชเมื่อขาดธาตุคลอรีน พืชมักจะไม่แสดงอาการ การขาดธาตุคลอรีนมากนัก เพราะในดินมีปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ปุ๋ย โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ (KCl) ที่เรานิยมใช้อยู่ก็มีองค์ประกอบของธาตุคลอรีนรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก จากการทดลองพบว่าพืชที่ได้รับธาตุคลอรีนไม่เพียงพอ จะแสดงอาการ ใบเหี่ยวด่างลาย แผลจุด และมีสีบรอนซ์ - พบว่า ผักกาดหอมห่อ และซูการ์บีท จะมีความไวต่อการขากธาตุคลอรีนมากที่สุด (ตามลำดับ) โดยถ้าขาดจะแสดงอาการที่เนื้อใบอ่อนที่อยู่กลางๆ ของต้น สีจะซีดจางลงและด่างลายเป็นร่างแห

ธาตุโมลิดินั่ม Mo

รูปภาพ
ธาตุโมลิดินั่ม Mo เป็นจุลธาตุ ที่ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ (ทำให้การทำงานของไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น) และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ธาตุโมลิดินั่ม จะเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ซึ่งจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนไนเตรต ไปเป็น ไนไตรต์ (หน้าที่การควบคุมไนเตรตในพืช) เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยอย่างยิ่งในพืชตระกูลถั่ว (การตรึงไนโตรเจน) และธาตุโมลิดินั่มยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผลไม้แก่เร็ว สุกเร็วขึ้น ในผลไม้ที่มีสารไนเตรตสูง จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไนเตรตให้เป็นกรดอะมิโน เป็นโปรตีน และเป็นน้ำตาล ทำให้ผลไม้มีรสหวาน ดินที่มีปุ๋ยคอก (มูลสัตว์ต่างๆ) หรือดินที่มีการปลูกพืชคลุมอยู่หนามากๆ มักจะมีธาตุโมลิดินั่มอย่างพอเพียงและอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตได้ ความต้องการธาตุโมลิดินั่มในพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และพวกหญ้าต่างๆ เป็นพืชที่มีโมลิดินั่มประกอบอยู่สูง เมื่อเทียบกับพืชอย่างอื่นพวกวัชพืชต่างๆ จะมีปานกลาง ที่มีต่ำสุดได้แก่ พวกผักกาดต่างๆ (ในบรรดาผักทั้งหมด ปรากฎว่ากะหล่ำดอกเป็นผักที่ไวต่อการขาด...

ธาตุทองแดง Cu

รูปภาพ
ธาตุทองแดง Cu เป็นจุลธาตุที่สำคัญต่อพืชธาตุหนึ่ง แม้ว่าพืชจะดูดดึงไปใช้น้อยกว่า ธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี เนื่องจากธาตุทองแดงมีบทบาทสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง ขบวนการสร้างคลอโรฟิลล์ ระบบหายใจของพืช ระบบระเหยน้ำ ช่วยในการสืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์ หลายชนิด นอกจากนั้นยังพบว่าธาตุทองแดงยังเป็นตัวช่วยทำให้ธาตุอื่น บางชนิดเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วยธาตุทองแดงที่อยู่ในดินจะมีหลายสภาพ เช่น ไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ (อยู่ที่ผิวของคอลลอยด์) บางส่วนอยู่ในสภาพสารประกอบอินทรีย์ (ซึ่งละลายได้ยาก พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้)) และอยูในสภาพไอออนละลายอยู่ในดิน (พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้) หน้าที่สำคัญของธาตุทองแดง (มีผลต่อพืชโดยอ้อม) 1.ช่วยสร้างสารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์  (เพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์) ป้องกันการถูกทำลายของส่วนสีเขียว รวมทั้งมีส่วนสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง 2.เป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์ในพืช (เร่งปฏิกิริยาของเอ็นไซม์) อันมีผลต่อการหายใจของพืช การเจริญเติบโต การติดดอก ออกผลของพืช (เพิ่มความหวานในผลไม้ เพิ่มกลิ่นในผลไม้และผัก เพิ่มความเข้มของสี) 3....

ธาตุสังกะสี Zn

รูปภาพ
ธาตุสังกะสี Zn เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ขาดไม่ได้ หรือเรียกว่า "จุลธาตุ" สังกะสีจะทำหน้าที่ร่วมในกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น ของเซลล์พืช ช่วยในการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรท การควบคุมการใช้น้ำตาลของพืช เป็นตัวร่วมในการผลิตคลอโรฟิลล์ และเป็นส่วนประกอบของอ๊อกซิน และฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ธาตุสังกะสีจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่ 1.ขบวนการ การสังเคราะห์แสง และการสร้างน้ำตาล 2.การสังเคราะห์โปรตีน 3.การเจริญพันธุ์ และการเพาะเมล็ด 4.การเจริญเติบโตของพืช 5.การตัานทานต่อโรคพืช อาการของพืชเมื่อขาดธาตุสังกะสี ธาตุสังกะสีเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายถ่ายเทได้ เมื่อพืชขาด จะมีอาการแสดงให้เห็นจากส่วนปลายหรือยอดก่อนแล้วจึงเคลื่อนลงมาหาโคนพืช - อาการขาดสังกะสี จะมีอาการเหมือนขาดแมกนีเซี่ยม คือ สีใบจะซีดจางลง โดยเริ่มจากขอบใบเข้ามาด้านใน (เส้นใบยังสีเขียวอยู่) ขนาดของใบจะเล็กลง (อาจมีรูปร่างผิดปกติ) แคระแกรน ใบจะงอกเป็นกระจุก ส่วนยอดหรือปลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือไม่ก็สีขาวซีด เช่นข้าวโพด จะแสดงอาการที่ส่วนยอดหรือปล...

ธาตุเหล็ก Fe

รูปภาพ
ธาตุเหล็ก Fe เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า "จุลธาตุ" ธาตุเหล็กจะพบในดินมาก แต่ไม่ได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชนต่อพืช ซึ่งปัญหาในการขาดธาตุเหล็กในพืชไม่ใช่เพราะธาตุเหล็กในดินมีปริมาณน้อย แต่เกิดจากการไม่ละลายและความไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชของธาตุเหล็กในดิน เช่นดินที่มีความเป็นกรดด่างมากๆ ธาตุเหล็กจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเลย แต่ในดินที่มีน้ำขังจะให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น ธาตุเหล็กพืชจะนำไปใช้ได้ต้องมีค่า pH ของดินหรือน้ำอยู่ระหว่าง 5.5-5.6 ถ้าต่ำกว่านี้จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะมะเขือเทศ พริก และพืชตระกูลแตงต่างๆ เมื่อรับธาตุเหล็กมากเกินไป ใบจะด่างลาย (คล้ายกับอาการ Mosaic) หยุดการเจริญเติบโต ใบม้วนลงด้านล่าง ซีดเหลืองทั้งใบ (ดินที่มีธาตุเหล็กมากเกินจนเป็น อันตรายต่อพืชได้แก่ ดินทราย ดินลูกรังที่มีสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม) ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีนในพืช ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าธาตุเหล็กจะไม่ใช่องค์ประกอบของคลอโรฟิลล์และเอ็นไซม์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้...

ธาตุแมงกานีส Mn

รูปภาพ
ธาตุแมงกานีส Mn เป็นธาตุที่พืชต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า"จุลธาตุ" มีความสำคัญต่อพืชคล้ายๆ ธาตุเหล็ก กล่าวคือ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ หลายชนิด  ช่วยในขบวนการอ็อกซิเดชั่น - รีดั๊กชั่น ในขบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ (เป็นองค์ประกอบของคลอโรพลาสต์) (มีส่วนใน ขบวนการ Metabolism ของ Fe และ N) การนำไปใช้ประโยชน์ของพืช แมงกานีสเป็นองค์ประกอบของแร่ ไพโรลูไซค์ แร่โดโรไครไซต์ แร่โรโดไนต์ เมื่อแร่ผุพังสลายตัวก็จะปลดปล่อยแมงกานีสออกมา แมงกานีสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จะอยู่ในรูปแมงกานีสทู ไอออน และ แมงกานีส ไตอ๊อกไซค์ ซึ่งอยู่ในสารละลายในดิน  หน้าที่สำคัญของธาตุแมงกานีส 1. ช่วยในการหายใจ (เกิดแก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซค์) /สังเคราะห์แสง (เกิดคลอโรฟิลล์) /เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี /ช่วยสังเคราะห์โปรตีนในพืชให้เป็นแป้ง และน้ำตาล 2. เพิ่มจำนวนช่อดอก จำนวนผล ช่วยพัฒนาขนาดของผลและเมล็ด ส่งเสริมการสุกการแก่ของผล ควบคุมการคายน้ำของผล 3. สร้างความต้านทานต่อความหนาวเย็นหรือเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ 4. สร้างให้พืชมีความต้าน...

ธาตุกำมะถัน S

รูปภาพ
ธาตุกำมะถัน S (หรือ ธาตุซัลเฟอร์) เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K  พืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก แต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เพราะธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน และโปรตีน และวิตามินบางชนิด และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารระเหยในพืช (ทำให่พืชมีกลิ่นเฉพาะตัว) เช่น กระเทียม หัวหอม ทุเรียน ฯลฯ แหล่งที่มาของกำมะถัน - องค์ประกอบส่วนใหญ่ของกำมะถันจะเป็นส่วนประกอบของหินอัคนีที่ผุพังสลายตัวในรูปของโลหะซัลไฟด์ (แร่ไฟไรท์ ,ยิปซั่ม ฯลฯ) เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสมจะถูกออกซิไดซ์ให้มาอยู่ในรูปของซัลเฟต (เช่นเกลือซัลเฟต) ส่วนใหญ่จะพบในดินที่แห้งแล้ง หรือกึ่งแห้งแล้ง - ได้จากซากพืชซากสัตว์ซึ่งสะสมอยู่ในดิน ในรูปอินทรีย์กำมะถัน - ได้จากการละลายมากับน้ำฝนของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ ที่ตกลงมาสู่ดิน แล้วเปลี่ยนรูปจาก อนุมูลซัลเฟต ไปอยู่ในรูปของซัลไฟด์ด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ - ได้จากการใส่ปุ๋ยกำมะถันลงไปในดิน ประโยชน์ของธาตุกำมะกัน 1.จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน 2.เป็นองค์ประกอบของวิตามิน B1 ,Co enzyme A,Glutathione และ เอ็มไซม์อื่นๆ 3.มีส่วนร่วมในการสร้าง...

ธาตุแมกนีเซี่ยม Mg

รูปภาพ
ธาตุแมกนีเซี่ยม  คือธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K พืชที่มีสีเขียวทุกชนิดต้องการเพื่อการเจริญเติบโต เนื่องจากแมกนีเซี่ยมมีส่วนร่วมในการสร้างเม็ดสีเขียว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ การทำงานของระบบเอมไซม์ และยังช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส (จากส่วนที่แก่ไปยังส่วนอื่นๆ ที่อ่อนกว่าของต้น) ช่วยในการสร้างไขมันในพืช  รวมทั้งช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อบางชนิด นอกจากนี้แล้วแมกนีเซี่ยมยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์โดยอยู่ในรูปของ แมกนีเซี่ยม เพคเตท ธาตุแมกนีเซี่ยมในดิน ในดินแบ่งออกเป็น 2 รูป คือ 1.อินทรีย์แมกนีเซี่ยม พืชจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ซึ่งจะอยู่ในรูปของไพติน และ แมกนีเซี่ยม เพคเตต ถ้าพืชจะนำไปใช้จะต้องถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย จากอินทรีย์แมกนีเซี่ยมมาเป็นอนินทรีย์แมกนีเซี่ยม (ในรูปของ แมกนีเซี่ยม ไอออน) ก่อน 2.อนินทรีย์แมกนีเซี่ยม มาจากหินและแร่ (แร่ไบโอทิน แร่เซอร์เพนทีน และแร่โดโลไมต์) เมื่อแร่ผุพัง สลายตัวจะให้ แมกนีเซี่ยม ไอออน ลงไปในดิน (แมกนีเซี่ยมที่แลกเปลี่ยนได้) พืชสามารถนำ...

ธาตุแคลเซี่ยม Ca

รูปภาพ
ธาตุอาหารพืช แคลเซี่ยม Ca เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K ซึ่งมาจากองค์ประกอบหลายชนิด ที่เรารู้จักกันมากในกลุ่มของเกลือแคลเซี่ยมอิสระ พวกปูนต่างๆ ได้แก่ หินปูน โดโลไมท์ ยิปซั่ม ฯลฯ ธาตุแคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ อยู่ในรูปของของ แคลเซี่ยมเพคเตต ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยในการสร้างโปรตีน และช่วยในการทำงานของเอมไซม์ ธาตุแคลเซี่ยมที่อยู่ในดิน มี 2 รูป คือ อินทรีย์แคลเซี่ยม พืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไพติน และแคลเซี่ยมเพคเนต พืชจะนำไปใช้ได้จะต้องถูกจุลทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรีย์แคลเซี่ยมไปเป็น อนินทรีย์แคลเซี่ยมก่อน จะอยู่ในรูป " แคลเซี่ยม ไอออน " หน้าที่สำคัญ 1.เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของยอดหรือปลายราก / ทำให้ผนังเซลล์ตึง มีผลทำให้ลำต้นพืชแข็ง 2.หน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้ 3.ช่วยเพิ่มการติดผล ช่วยป้องกันผลร่วง ผลแตก 4.ช่วยในการสร้างราก การแตกกิ่ง สร้างตา สร้างดอก 5.มีบทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช 6.ช่วยย่อยธาตุไนโตรเจน / ลดการดูดดึ...

ธาตุโปแตสเซี่ยม K

รูปภาพ
ธาตุโปแตสเซี่ยม เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่หลายชนิดในดิน พืชจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ต้องอยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือ " โปแตสเซี่ยม ไอออน " เท่านั้น อนุมูลโปแตสเซี่ยมในดินอาจจะอยู่ใน " น้ำในดิน " หรือถูกยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียว (เป็นส่วนใหญ่) ดังนั้นดินที่มีเนื้อละเอียด อย่างดินเหนียวจึงมีปริมาณธาตุอาหารโปแตสเซี่ยมสูงกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ อย่างดินทราย หรือดินร่วนปนทราย (แม้ว่าจะถูกดูดยึดจากอนุภาคดินเหนียว แต่รากพืชก็สามารถดึงธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายๆ พอๆ กับที่มันละลายอยู่ใน น้ำในดิน) ความสำคัญ ธาตุโปแตสเซี่ยม จะกระตุ้นการทำงานของเอมไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่างๆ ได้แก่ การสังเคราะห์แสง การหายใจ การสังเคราะห์แป้ง และการสังเคราะห์โปรตีน รวมทั้งควบคุมแรงดันภายในเซลล์ (การดูดน้ำ และ การเปิดปิดของปากใบ ) ยังช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชหนา ผลผลิตเก็บรักษาได้นานขึ้น  ประโยชน์ของธาตุโปแตสเซี่ยมต่อพืช 1.ใช้ในกระบวนการสร้างและสังเคาระห์ แป้งและน้ำตาล 2.เป็นธาตุที่ช่วยในเคลื่อนย้าย อาหารพวกแป้งและน้ำตาล (เพิ่มเท่าตัว) ไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเจริญเติบโต และส่...

ธาตุฟอสฟอรัส P

รูปภาพ
ธาตุฟอสฟอรัส มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของรากพืช (จะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี) ควบคุมการออกดอกออกผล (ได้อย่างรวดเร็วขึ้น) และการสร้างเมล็ด ธาตุฟอสฟอรัสในดิน จะเกิดจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดใน และการสลายตัวของสารอินทรีย์วัตถุในดินก็สามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ซึ่งการใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้ว ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย การนำธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ของพืช ธาตุฟอสฟอรัส พืชจะสามารถนำไปใช้ได้ต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า " ฟอสเฟต ไอออน " ซึ่งต้อง ละลายอยู่ในน้ำในดิน  (ดูเรื่องของดิน "น้ำในดิน"ถ้ายังไม่เข้าใจครับ)สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินจะมีอยู่จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่า ถึงแม้ดินมีฟอสฟอรัสมากก็จริง แต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง อีกประการคือ อนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ จะถูกตรึงได้ง่าย พืชสามารถจะนำฟอสเฟตไปใช้ได้ 10-25% จากปริมาณที่เราใส่ให้กับพืช เช่น ดินที่เป็นกรด (pH ต่ำ...

ธาตุไนโตรเจน N

รูปภาพ
ธาตุไนโตรเจน N  ปกติจะมีอยู่ในอากาศจำนวนมาก ในรูปของก๊าซไนโตรเจน แต่พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ (ยกเว้นพืชตระถั่วเท่านั้นที่สามารถแปรรูปก๊าซไนโตเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมาก เพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต สร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และวิตามินในพืช แหล่งของธาตุไนโตรเจนในดินคือ อินทรีย์วัตถุ พืชที่ได้รับไนโตรเจน อย่างเพียงพอ จะส่งผลทำให้   1.เร่งให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต 2.กระตุ้นให้เติบโตเร็ว ใบสีเขียวสด และพืชมีความแข็งแรง 3..ส่งเสริมการเจริญเติบโตทาง ลำต้น และใบ 4.เพิ่มโปรตีน ให้กับพืช 5.ควบคุมการออกดอก เพิ่มผลผลิต ขอลผลและเมล็ดที่สมบูรณ์ พืชที่ได้รับไนโตรเจน มากเกินไป จะส่งผลทำให้ 1.ทำให้พืชอวบน้ำมาก ล้มง่าย  2.ความต้านทานต่อโรคและแมลงลดน้อยลง 3.คุณภาพผลิตผล เมล็ด ลดลง (เพราะพืชจะมุ่งสร้างดอก ลำต้น กิ่ง ใบมากกว่าดอกและเมล็ด)    (ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย , ต้นอ้อยมีรสจืด , ส้มจะมีรสเปรี้ยวมาก 4.ทำให้พืชแก่เร็ว พืชที่ได้รับไนโตรเจน น้อยเกินไป...

ธาตุอาหารพืช

รูปภาพ
ธาตุอาหารพืช สิ่งมีชีวิตทุกอย่างในโลกนี้ล้วนต้องการอาหาร น้ำ อากาศ อื่นๆ เพื่อการดำรงชีวิตด้วยกันทั้งนั้น พืชก็เช่นเดียวกัน ธาตุอาหารพืชก็คืออาหารพืชนั่นเอง ซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช มีด้วยกัน 16 ธาตุ (เพื่อให้จำได้ง่าย จึงแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1  ได้แก่ คาร์บอน (C) , ไฮโดรเจน (H) , อ๊อกซิเจน (O2) พืชจะได้รับจากอากาศและน้ำ  (ประมาณ 94-99.5% เป็นส่วนประกอบของพืช) (ตามน้ำหนักสดของพืช) กลุ่มที่2 ได้แก่ ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) , โปแตสเซี่ยม (K) พืชจะต้องการธาตุกลุ่มนี้มาก จึงมักจะเรียกว่า " ธาตุอาหารหลัก " แต่ในดินนั้นมีธาตุอาหารกลุ่มนี้น้อย เราจึงนำเอาธาตุอาหารกลุ่มนี้มาใส่ให้พืช หรืออาจเรียกได้ว่า การใส่ปุ๋ย นั่นเอง (N,P มักมีมากในดินทั่วๆไป แต่ K จะมีปริมาณมาก ยกเว้นในดินทราย) กลุ่มที่3 ได้แก่ แคลเซี่ยม (Ca) , แมกนีเซี่ยม (Mg) , กำมะถัน (S) พืชต้องการธาตุอาหารกลุ่มนี้ ในปริมาณที่น้อยกว่า กลุ่มที่ 2 (ธาตุอาหารหลัก N,P,K เราจึงเรียกธาตุอาหารกลุ่มนี้ว่า " ธาตุอาหารรอง " กลุ่มที่4 ได้แก่ เหล็ก (Fe) , แมงกานีส (Mn) , สังกะสี (Zn) , ทองแดง (Cu) , ...

เรื่องของอากาศและสภาพแวดล้อม

รูปภาพ
อากาศสำหรับพืช ในอากาศมี ก๊าสหลายชนิด ที่พืชต้องการมากที่สุด ได้แก่ อ็อกซิเจน คาร์บอนไดซ์อ๊อกไซค์ เพื่อการสังเคราะห์แสงในการสร้างอาหารและการหายใจของพืช และก๊าส ทั้ง 2 ชนิด จะมีอยู่ในดินด้วย(ช่องว่างระหว่างเม็ดดิน) ฉะนั้นการปลูกพืชเราจึงต้องมีการพรวนดินให้ร่วยซุยอยู่เสมอๆ เพื่อให้อากาศ ที่มีอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน มีการระบายถ่ายเทได้ แสงสว่าง (แสงแดด) พืชต้องการแสง/แสงแดด มาใช้ในการสร้างอาหาร ซึ่งพืชในแต่ละชนิดต้องการแสง/แสงแดด ไม่เท่ากัน (พืชบางชนิดต้องการช่วงแสงมาก บางชนิดต้องการช่วงแสงน้อย) หากพืชขาดแสง/แสงแดด แล้ว จะแคระแกรนไม่เจริญเติบโต ใบสีเหลือง หรือใบขาวซีด และจะตายในที่สุด อุณหภูมิ   อุณหภูมิ จะเป็นส่วนหนึ่งในการงอกและการเจริญเติบโตของพืช จะสังเกตุเห็นว่าพืชบางชนิดชอบอากาศหนาวเย็น และพืชบางชนิดชอบอากาศร้อน ฉะนั้นหากจะนำพืชมาปลูก เราควรเลือกพืชให้เหมาะสมต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ของแต่ละท้องถิ่นด้วย

เรื่องของน้ำ

รูปภาพ
น้ำ คือสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง (ไฮโดรเจน 2 อะตอม /อ็อกซิเจน 1 อะตอม) สถานะเป็นของเหลวในอุณหภูมิปกติ  เป็นปัจจัยสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและการเพาะปลูกพืช พืชต้องการน้ำ 1.เป็นตัวทำละลาย ปุ๋ยหรือธาตุอาหารต่างๆ ให้กับพืช พืชจะดูดซึม (Osmosys) ผ่านทางรากขนอ่อน 2.ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง 3.ช่วบควบคุมอุณหภูมิภายในต้นพืช (การคายน้ำของพืชจะทำให้อุณหภูมิในต้นพืชลดน้อยลง ทำให้พืชไม่เหี่ยว ฯลฯ) หลักในการให้น้ำพืช เมื่อใดที่เราจะให้น้ำแก่พืช และในปริมาณเท่าใด ให้คำนึงถึงปัจจัย 3 อย่างคือ พืช ดิน และน้ำ 1.ปริมาณน้ำที่พืชต้องการในแต่ละช่วงเวลาตลอดอายุพืชนั้นๆ 2.ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินในเขตรากพืช 3.ปริมาณแหล่งน้ำในการชลประทาน นอกจากนี้แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย อันได้แก่ สภาพภูมิอากาศ (อุณหภูมิ ความชื้น แสง) และการจัดการการเพาะปลูก เช่น ความหนาแน่นของพืชที่ปลูก ฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการให้ปุ๋ย ฯลฯ ความต้องการน้ำของพืช 1.ระยะเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ใบ ต้องการน้ำมาก 2.ระยะเตรียมออกดอก ต้องการน้ำน้อย 3.ระยะแทงช่อดอก ผสมเกสร และติดผลอ่อน ต้องการน้ำมาก 4.ร...