ธาตุโบรอน B (ตอนที่ 2 )

ธาตุโบรอน B (ตอนที่ 2)
***** ต่อจากตอนที่ 1 *****
ปกติดินที่ขาดธาตุโบรอน จะเป็นดินทรายตามชายฝั่งทะเลซึ่งมีธาตุโบรอนน้อยที่สุด แต่การขาดธาตุโบรอนนั้น (จนเป็นอันตรายต่อพืช) จะพบในดินเกือบทุกชนิด การขาดธาตุโบรอนนี้จะเกิดขึ้นรุนแรงและเห็นได้เด่นชัดในช่วงที่พืชกระทบอากาศแห้งแล้ง หรือพืชขาดน้ำมากๆ ในดินที่มีฤทธิ์เป็นด่าง และพบว่าพืชที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (เร็วเกินไป) จากการที่เราเร่งปุ๋ยไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยม จะแสดงอาการขาดธาตุโบรอนรุนแรงกว่า พืชที่เจริญเติบโตเป็นปกติหรือโตช้า
อาการทั่วไปของพืชที่ขาดธาตุโบรอน
1.ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโต
2.ส่วนปลายหรือขอบใบ(โดยเฉพาะยอด/ใบอ่อน)จะไหม้แห้ง (ใบอ่อนบางโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนาและกร้าน)
3.ใบแก่จะบิดเบี้ยวผิดรูป
4.ที่ขอบหรือส่วนล่างของผิวใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
5.ลำต้นส่วนที่เป็นไส้กลาง หรือส่วนของเนื้อเยื่อที่อวบอ่อน จะช้ำหรือเป็นแผลแตกแยกออก (อาจมีอาการตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น) กิ่วก้านจะดูเหี่ยวๆ
6.พืชหัว เช่นแครอท มันฝรั่ง หรือ พืชเป็นผล เช่นแตง สีเนื้อภายในจะซีดจางหรือหายไป เนื้อหยาบแข็ง ผลเล็กแข็งผิดปกติ เปลือกหนา บางทีผลแตกได้
7.พืชผักที่ปลูกเพื่อเอาเมล็ดหรือทำพันธุ์ เมล็ดจะน้อย หรือไม่มีเมล็ด
อาการเฉพาะของพืชแต่ละชนิดเมื่อขาดธาตุโบรอน (ขอยกตัวอย่าง 3 พืช)
พืชตระกูลกะหล่ำ
อาการที่ส่วนแกนหรือไส้ของลำต้น แยกแตกออก หรือเน่ากลวง ระบบรากไม่สมบูรณ์ (อาจเน่าด้วย) กะหล่ำดอกจะแสดงอาการชัดเจนและรุนแรงมากกว่าอย่างอื่น คือจะมีอาการเกิดเป็นจุดแผลสีน้ำตาลและจะขยายลุกลามคลุมจนเต็มดอกทั้งหมด หากขาดในช่วงที่ดอกยังเล็กอยู่ ดอกจะแตกแขนงเล็กๆ ไม่รวมกันหรือห่อเป็นช่อและมีแผลจุดสีน้ำตาลเช่นกัน
คึ่นช่าย
จะเกิดแผลแตกหรือแยก ตามขวาง ที่ก้านใบ ส่วนของเปลือกใบจะม้วนขึ้นกลับไปด้านหลัง ทำให้ก้านใบมีลักษณะเป็นขุยหรือแผลสะเก็ดเล็กๆ ถ้าเป็นมากๆ ขุยเหล่านั้นจะหายไปแต่จะเกิดแผลสีน้ำตาลขึ้นแทน เมื่อยังขาดธาตุนี้อีก รากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีส้ม เปลือกขาดออกง่าย ปลายรากกุด
แตงหรือฟักทอง
จะหยุดการเจริญเติบโต แคระแกร็น เถาหดสั้น กิ่งก้านใบแข็งเปราะ หักง่าย ใบเหลืองห่อ หุบลงด้านล่างเป็นรูปถ้วยคว่ำ ก้านใบหนา ปลายเถาม้วน ใบอ่อนปลายเถาจะแห้ง
อาการของพืชเมื่อได้รับธาตุโบรอนมากเกินไป
- เนื้อใบระหว่างเส้นกลางใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (ลักษณะเหมือนขาดธาตุแมกนีเซี่ยม)
- ขอบใบแห้ง
- ระบบรากเสียหาย
- ต้นพืชไม่เตริญเติบโต คล้ายๆ ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ (อาจทำให้พืชตายทั้งต้นได้)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คนเล่นปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปะทะ ปุ๋ยอนินทรีย์

ธาตุคลอรีน Cl

ธาตุอาหารพืช